เราพร้อมเป็นคู่ค้าที่จริงใจ และเป็นทางออกของงานยกของที่ปลอดภัย

" Your Trustworthy Partner "

หมวดหมู่สินค้า

กว่า 50 ปี

ที่บริษัท เอชเอสที สตีล จำกัด

อยู่คู่ธุรกิจเครื่องเหล็กและอุปกรณ์ยกของนานาชนิด

ข่าวสารและความรู้

24
มกราคม

POWER LIFT™ Wire Rope Slings

POWER LIFT™ Wire Rope Slings

       ในอุตสาหกรรมงานยกของหนัก เรื่องความปลอดภัยนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมาก แต่กลับเป็นเรื่องยากที่เราจะทราบได้ว่า  ชุดอุปกรณ์ยกของที่จัดหามาใช้งานอยู่นั้นได้เกณฑ์มาตรฐานเพียงพอและปลอดภัยหรือไม่ ทำให้การทำงานมีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจากอุปกรณ์ยกของที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือการใช้งานที่ไม่ถูกหลัก โดยเฉพาะชุดสลิงยกของซึ่งมีรายละเอียดและปัจจัยด้านความปลอดภัยที่ต้องคำนึงถึงมากมาย

       POWER LIFT™ เข้าใจถึงปัญหาดังกล่าว และพร้อมเป็นทางออกของปัญหาด้านความปลอดภัยของงานยกของที่ได้มาตรฐาน  เราจึงใส่ใจและให้ความสำคัญกับเรื่องมาตรฐานของอุปกรณ์ รวมไปถึงความรู้ความเข้าใจในการใช้งานที่ถูกต้อง เพื่อความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้งาน จึงเป็นที่มาของ POWER LIFT™ ที่มุ่งเน้นหลักปฏิบัติ “Your Safety is Our Priority”

 

มาตรฐานลวดสลิง POWER LIFT™

       ลวดสลิงของ POWER LIFT™ ผลิตจากลวดคุณภาพสูง ทำให้มีความแข็งแรงทนทานตามมาตรฐานสากล และได้รับการรับรองมาตรฐานทั้ง มอก. 514 (TIS 514) และ ISO 2408 หรือ EN 12385-4 หรือ GB/T 20118  นอกจากนี้ลวดสลิงของเรายังมีการทดสอบแรงดึงขาด (Breaking Load) ตามขั้นตอนมาตรฐาน เพื่อความมั่นใจในความปลอดภัยสูงสุด

       POWER LIFT™ เลือกใช้ลวดสลิงไส้เหล็กในการทำชุดลวดสลิงยกของ และเรายังมีขั้นตอนการเคลือบจาระบีมาตรฐาน A2    ซึ่งช่วยยืดอายุการใช้งานของลวดสลิงและทำให้ลวดสลิงของเรามีความแข็งแรงทนทานมากยิ่งขึ้น สามารถรองรับการยกของหนักได้อย่างปลอดภัย

 

ประสิทธิภาพในการเข้าหัวลวดสลิง

       เทคนิคการเข้าหัวลวดสลิงแต่ละประเภทจะมีประสิทธิภาพที่แตกต่างกัน โดยการเข้าหัวของ POWER LIFT™  จะใช้เทคนิค Mechanical Spliced คือการเข้าหัวลวดสลิงด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังอัดสูงสุดถึง 605 MT จึงทำให้มั่นใจได้ว่า การเข้าหัวลวดสลิงของเรานั้นแข็งแรงและปลอดภัย ซึ่งการเข้าหัวลวดสลิงด้วยวิธีนี้ เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดเมื่อเทียบกับการเข้าหัวด้วยการใช้กิ๊บจับสลิงหรือการนำลวดสลิงมาถักหัวโดยปราศจากการย้ำปลอกด้วยเครื่องจักร

 

ชุดลวดสลิง POWER LIFT™

            ชุดลวดสลิงของ POWER LIFT™ จะมีด้วยกันอยู่สองซีรี่ส์หลักๆ คือ WR Series และ WRS Series โดยทั้งสองซีรี่ส์จะมีรายละเอียดต่างกัน แต่ทุกซีรี่ส์และทุกรุ่นจะได้รับการรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยของ POWER LIFT™ และมี Certificate รับรองคุณภาพเช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้ใช้ทุกท่านจึงสามารถมั่นใจได้ในมาตรฐานและความปลอดภัย

รุ่นสินค้าของ POWER LIFT™ มีดังนี้

WR Series

     1. WR-A : Mechanical Thimble Eye & Mechanical Thimble Eye Wire Rope Slings     2. WR-B : Mechanical Thimble Eye & Mechanical Soft Eye Wire Rope Slings     3. WR-C : Mechanical Soft Eye & Mechanical Soft Eye Wire Rope Slings

รายละเอียด WR Series -->  POWER LIFT™ WR Series

WRS Series

     1. WRS -1 : One-Leg Wire Rope Slingsรายละเอียดเพิ่ิมเติม --> POWER LIFT™ WRS-1

     2. WRS-2 : Two-Leg Wire Rope Slingsรายละเอียดเพิ่ิมเติม --> POWER LIFT™ WRS-2

     3. WRS-3 : Three-Leg Wire Rope Slingsรายละเอียดเพิ่ิมเติม --> POWER LIFT™ WRS-3

     4. WRS-4 : Four-Leg Wire Rope Slingsรายละเอียดเพิ่ิมเติม --> POWER LIFT™ WRS-4

 

Why POWER LIFT™

POWER LIFT™ ให้ความสำคัญด้านความปลอดภัยสูงสุด ลวดสลิงคุณภาพสูง ผ่านการรับรองมาตรฐาน TIS 514 (มอก. 514) และ ISO 2408 หรือ EN 12385-4   หรือ GB/T 20118 อัดปลอกด้วยเครื่องจักรมาตรฐานเยอรมัน ด้วยกำลังอัดสูงสุดถึง 605 MT มี POWER TAG ระบุค่ารับน้ำหนักสูงสุดในการยกแต่ละแบบ เพื่อความปลอดภัยสูงสุด มีค่าความปลอดภัย Safety Factor สูงสุดถึง 5 เท่า มีใบ Certificate รับรองคุณภาพสินค้าทุกชุด มีผู้เชี่ยวชาญด้านงานยกของให้คำปรึกษาเพื่อการยกที่ปลอดภัย

 

อ่านเพิ่มเติม 
12
มิถุนายน

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลวดสลิง

         ลวดสลิง (Wire Rope) ประกอบไปด้วยมัดของเส้นลวดโลหะที่บิดเป็นเกลียว ในสมัยก่อนนั้นใช้เหล็กคาร์บอนต่ำหรือเหล็กอ่อน (Wrought Iron) ในการผลิต ต่อมาในปัจจุบันลวดสลิงเปลี่ยนมาผลิตจากเหล็กกล้า ลวดสลิงนั้นพัฒนามาจากโซ่เหล็กซึ่งมีปัญหาเรื่องการขาดของข้อโซ่ซึ่งทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงมากมาย ในขณะที่การขาดของเส้นลวดที่ใช้ทำลวดสลิงนั้นมีความปลอดภัยมากกว่าเนื่องจากยังมีลวดเส้นอื่นๆที่สามารถรับน้ำหนักได้ อีกทั้งแรงเสียดทานระหว่างลวดแต่ละเส้นและมัดเส้นลวดซึ่งเป็นผลมาจากการบิดเกลียวก็ยังช่วยชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นได้อีกด้วย ประวัติความเป็นมาของลวดสลิง        ลวดสลิงสมัยใหม่นั้นคิดค้นโดยวิศวกรเหมืองแร่ชาวเยอรมัน Wilhelm Albert ในระหว่างปี ค.ศ.1831-1834 สำหรับใช้งานในเหมืองบนเขา Harz ในเมือง Clausthal แคว้น Lower Saxony ประเทศเยอรมนี หลังจากนั้นก็ได้แพร่หลายเนื่องจากคุณสมบัติของลวดสลิงที่เหนือกว่าเชือกปอหรือโซ่โลหะที่ใช้ก่อนหน้านั้น ลวดสลิงของ Wilhelm Albert ประกอบไปด้วยเส้นลวดที่บิดเกลียวเป็น 6 มัด แล้วก็บิดในอีกทิศทางหนึ่งเพื่อความแข็งแรง และห่อด้วยปออีกครั้งหนึ่ง        ในปี ค.ศ.1840 Robert Stirling Newall ชาวสก็อตได้พัฒนาลวดสลิงให้ดียิ่งขึ้น โดยต่อมาลวดสลิงได้ถูกใช้ในงานระบบขนส่งกำลังทางกลต่างๆ รวมถึงรถกระเช้า ลวดสลิงมีราคาเพียงหนึ่งในสิบและมีการสูญเสียกำลังจากแรงเสียดทานน้อยกว่าระบบเพลา ด้วยข้อดีนี้ทำให้ระบบลวดสลิงถูกใช้ในการส่งกำลังในระยะทางไกล       ในอเมริกา John A. Roebling ได้ผลิตลวดสลิงสำหรับใช้สร้างสะพานแขวน และพัฒนาการออกแบบวัสดุและการผลิตลวดสลิงต่อไปแกนของลวดสลิง (Wire Rope Core)       ลวดสลิงแบบที่ใช้งานทั่วไปทำจากเกลียวลวดหลายเกลียวตั้งแต่ 1 ชั้นขึ้นไปพันรอบแกน โดยแบ่งตามไส้ (แกนตรงกลาง) ได้ 3 ประเภท1) ลวดสลิงไส้เชือก (Fiber Core - FC) ไส้ตรงกลางทำจากเชือก ซึ่งอาจจะเป็นเชือกที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติหรือสังเคราะห์ ลวดสลิงไส้เชือกนั้นมีความยืดหยุ่น แต่มีข้อเสียคือขาดได้ง่าย2) ลวดสลิงไส้เกลียวลวด (Wire Strand Core - WSC) ไส้ตรงกลางเป็นเกลียวลวดอีกมัดหนึ่งซึ่งใช้สำหรับรับแรงกระแทก3) ลวดสลิงไส้เกลียวลวดอิสระ (Independent Wire Rope Core - IWRC) ซึ่งมีความแข็งแรงสูงที่สุด   ตัวอย่างลวดสลิงประเภทต่างๆ >>  ลวดสลิงทั้งหมด   ประเภทของลวดสลิงแบ่งตามการใช้งาน 1. Running ropes       ใช้งานแบบเคลื่อนที่ จะเป็นลวดสลิงแบบทั่วไป โดยถูกวางบิดบนลูกรอกหรือลูกกลิ้ง ลวดสลิงแบบนี้จะได้รับแรงเค้นโดยการบิดเป็นหลัก 2. Stay ropes        ใช้งานอยู่กับที่ จะเป็นลวดสลิง spiral ที่ใช้รับแรงดึงและรับน้ำหนักแบบคงที่และไม่คงที่ 3. Track ropes      ใช้เป็นรางสำหรับลูกล้อของห้องโดยสารหรือน้ำหนักอื่นในรถกระเช้าหรือเครน การใช้เป็นรางนั้นแตกต่างกับการใช้งานแบบเคลื่อนที่เนื่องจากลวดสลิงใช้เป็นรางไม่ได้รับผลของความโค้งของลูกกลิ้ง 4. Wire rope slings        ใช้เป็นตัวดึงรับของต่าง ๆ ลวดสลิงแบบนี้จะรับแรงเค้นจากแรงดึงและการโค้งตัวตามมุมของสิ่งของ ความปลอดภัย       ลวดสลิงนั้นได้รับความเค้นโดยแรงที่ไม่คงที่ การสึกหรอ การกัดกร่อน และจากน้ำหนักที่เกิน อายุการใช้งานของลวดสลิงมีจำกัดและควรมีการตรวจสภาพของลวดสลิงว่ามีร่องรอยความเสียหายเพียงใด เพื่อจะเปลี่ยนทดแทนก่อนที่จะเกิดอันตราย การติดตั้งควรได้รับการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อความปลอดภัย เช่น การติดตั้งลวดสลิงสำหรับลิฟต์โดยสารนั้นควรจะมีวิธีการติดตั้งเพื่อป้องกันตัวลิฟต์นั้นหล่นลงมา หรือ การติดตั้งลวดสลิงบันไดเลื่อนนั้นจะมีทั้งลวดสลิงที่ใช้รับน้ำหนักโดยสารและอุปกรณ์ความปลอดภัย การเข้าหัว (End Terminations)      ส่วนปลายของลวดสลิงนั้นจะแยกออกกันทั้นทีและไม่สามารถที่จะใช้ต่อกับอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ จึงจะต้องมีวิธีการที่จะป้องกันไม่ให้ปลายของลวดสลิงนั้นแยกออกจากนั้น วิธีการที่ใช้กันมากที่สุดนั้นทำโดยม้วนปลายเป็นห่วง ซึ่งจะมีประสิทธิภาพตั้งแต่ 70% สำหรับห่วงแบบ Flemish eye อย่างเดียว จนถึง 90% สำหรับห่วงแบบ Flemish eye และการ splice จนถึง 100% สำหรับ potted end และ swaging   สามารถดูสินค้าลวดสลิงทำหัวของเราได้ที่ลิงค์นี้เลยครับ >> ลวดสลิงทำหัว

 

1. ห่วงหัวใจ (Thimbles)        เมื่อลวดสลิงถูกม้วนเป็นห่วงปลายนั้น มีโอกาสที่ลวดสลิงอาจจะถูกบิดแน่นเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อห่วงนั้นต่อกับอุปกรณ์ที่กระจายน้ำหนักกระทำกับพื้นที่เล็กๆ ห่วงหัวใจจะถูกใส่เข้าไปในห่วงเพื่อจะรักษารูปทรงของห่วงและป้องกันสายลวดสลิงเสียหายจากแรงกดภายในห่วง การใช้ห่วงหัวใจนั้นเป็นวิธีการที่ดีที่สุด ซึ่งช่วยป้องกันแรงกระทำไม่ให้กระทำต่อหน้าสัมผัสลวดสลิงโดยตรง               สนใจลวดสลิงเข้าห่วงหัวใจ คลิ๊กเลย >> ลวดสลิงอัดปลอก+ห่วงหัวใจ     2. กิ๊บจับลวดสลิง (Wire Rope Clips หรือ Wire Rope Clamps)        กิ๊บจับลวดสลิง ใช้สำหรับยึดปลายของห่วงเข้ากับเส้นลวดสลิง ตัวกิ๊บจับนั้นประกอบไปด้วยโบลต์รูปตัวยู (ยูโบลต์ U bolt), ตัวรองทำจากเหล็ก และน็อต 2 ตัว ลวดสลิงสองเส้นจะวางรัดอยู่ในตัวยูโบลต์ ส่วนตัวรองนั้นจะรองรับตัวลวดสลิงเข้ากับโบลต์ (ตัวรองมี 2 รู เพื่อร้อยใส่กับ ตัวยูโบลต์) จากนั้นน็อตจะยึดลวดสลิงเข้าด้วยกัน โดยทั่วไปการเข้าหัวลวดสลิงนั้นจะใช้กิ๊บจับ 2-3 ตัว แต่สำหรับลวดสลิงขนาด 2 นิ้ว (50.8 mm) นั้นจะต้องใช้กิ๊บจับถึง 8 ตัว และเวลาติดตั้งกริ๊ปจับ ตัวรองของกิ๊บจับนั้นจะต้องอยู่บนลวดสลิงเส้นที่รับน้ำหนัก หรือด้านที่ใช้งาน (live side) ไม่ใช่อยู่บนด้านที่ไม่ได้รับน้ำหนัก (dead side)จาก US Navy Manual S9086-UU-STM-010, Chapter 613R3, Wire and Fiber Rope and Rigging เพื่อที่จะป้องกันแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นกับด้านที่รับน้ำหนักของลวดสลิง ตัวรองจึงถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันปัญหานี้ และจะวางอยู่บนด้านที่รับน้ำหนักเสมอ อย่างไรก็ตามจากมาตรฐานของ US Navy และหน่วยงานมาตรฐานต่างๆ ไม่แนะนำให้ใช้กิ๊บจับสำหรับการเข้าหัวแบบถาวร ซึ่งในการเข้าหัวแบบถาวรนั้นให้ใช้การอัดปลอกซึ่งจะมีความปลอดภัยมากกว่า  

กิ๊บจับของเรามีหลากหลายแบบให้เลือกใช้ สนใจคลิ๊กเลยค่ะ >> กิ๊บจับ

3. การอัดปลอก (Swaged Terminations)        การอัดปลอกทำเพื่อจะต่อลวดสลิง 2 เส้นเข้าด้วยกันหรือต่อปลายลวดสลิงเข้ากับสิ่งอื่น โดยเครื่องอัดไฮโดรลิคที่จะใช้เพื่ออัดนั้นจะต้องได้มาตฐานและได้รับการรับรองคุณภาพเพื่อความปลอดภัย การเข้าหัวสลิงด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่ปลอดภัยและได้มาตรฐานตามหลักสากล เนื่องจากเป็นการเข้าปลายแบบถาวรและอัดด้วยเครื่องจักรที่มีกำลังอัดสูง                 สนใจลวดสลิงอัดปลอก คลิ๊กเลยค่ะ >> ลวดสลิงอัดปลอก   4. การถักหัว (Eye Splice หรือ Flemish Eye)       การถักหัวลวดสลิง ใช้สำหรับปิดปลายของลวดสลิงเมื่อม้วนทำเป็นห่วง มัดเกลียวที่ส่วนปลายของลวดสลิงนั้นถูกคลายเกลียวออกระยะหนึ่งแล้ว ม้วนเกลียวเข้ากับลวดสลิงทำเป็นห่วง ซึ่งเรียกว่า Eye Splice

 

 

 

 

 

 

สนใจลวดสลิงถักหัว คลิ๊กเลยค่ะ >> ลวดสลิงถักหัว

Reference : Wikipedia, 2020. Wire Rope. [online] Available at: <https://en.wikipedia.org/wiki/Wire_rope> [Accessed 12 June 2020]
อ่านเพิ่มเติม 
13
กรกฎาคม

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโซ่

        โซ่ (Chain) สามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น ใช้ยึดเกาะทั่วไป งานยึดเกาะสินค้าบนรถบรรทุก ใช้ยกของในงานเครน ใช้ล้อมพื้นที่ หรือแม้แต่ใช้ประดับตกแต่ง ซึ่งโซ่จะมีอยู่หลากหลายเกรดด้วยกัน แต่ละเกรดจะเหมาะกับงานที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมได้ครอบคลุมมากขึ้น ทาง เอชเอสที สตีล จะขออธิบายความเข้าใจทั่วไปเป็นลำดับแรก จากนั้นจะอธิบายเฉพาะชุดโซ่ยกที่ใช้ในงานเครนตามลำดับ

 

1. เกรดของโซ่

 

1.1 โซ่เกรด G30 : เป็นโซ่เกรดมาตรฐานสำหรับใช้งานทั่วไป ผลิตจากเหล็กคาร์บอนต่ำ ใช้กับงานลักษณะพ่วงต่ออุปกรณ์ ยึดอุปกรณ์ ยึดตรึงอุปกรณ์ (Tie Down) การผลิตจะระบุเกรด 3, 30 หรือ 300 ห้ามใช้กับงานเครน

สนใจสินค้า โซ่ G30 คลิ๊กเลย!! >> โซ่ G30

 

1.2 โซ่เกรด BBB Anchor Chain : เป็นโซ่เกรดมาตรฐาน ใช้กับงานผูกยึดเรือกับต้นเสา ผลิตจากเหล็กคาร์บอนต่ำ การผลิตจะระบุเกรด 3B ห้ามใช้กับงานเครน

สนใจสินค้า โซ่สมอ (Anchor Chain) คลิ๊กเลย!! >> โซ่สมอ

 

1.3 โซ่เกรด G40 High Test : คุณสมบัติเชิงกลการรับโหลดระดับเดียวกันกับโซ่เกรด Gr43 แต่ขนาดของข้อโซ่จะเล็กกว่า การผลิตจะอ้างอิงมาตรฐาน ISO เป้าหมายการผลิตใช้กับงานผูกยึดเรือกับต้นเสา หลังจากนั้นได้พัฒนาเปลี่ยนเป็นเกรด Gr43 แทน ห้ามใช้กับงานเครน

สนใจสินค้าหรือสอบถามเพิ่มเติม คลิ๊กเลย!! >> HST STEEL Contact

 

1.4 โซ่เกรด G70 Transport : โซ่เกรดนี้ใช้สำหรับยึดตรึงสินค้าบนรถบรรทุก (Tie Down or Load Restraint) สำหรับงานขนส่ง โซ่จะถูกชุบโครเมียมสีทองช่วยให้จดจำได้ง่าย การผลิตจะระบุเกรด 7, 70 หรือ 700 ห้ามใช้กับงานเครน

สนใจสินค้าหรือสอบถามเพิ่มเติม คลิ๊กเลย!! >> HST STEEL Contact

 

1.5 โซ่เกรด G80 Alloy : เป็นโซ่ที่ถูกออกแบบและรับรองโดย OSHA และอีกหลายองค์กร สำหรับใช้ยกของในงานเครน  โซ่เกรดนี้ผลิตโดยใช้กระบวนการทางความร้อน (Heat-Treated Steel) โดยปรับคุณสมบัติทางเคมีและคุณสมบัติเชิงกลให้เหมาะสำหรับงานยกของในงานเครน การผลิตจะระบุเกรด 8, 80 หรือ 800 เป็นโซ่ที่เหมาะสำหรับใช้กับงานเครน

สนใจสินค้า โซ่อัลลอย G80 คลิ๊กเลย!! >> โซ่อัลลอย G80

 

1.6 โซ่เกรด  G100 Alloy : ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับการผลิตโซ่ที่เป็นโลหะผสม ชิ้นงานที่ได้สามารถรับภาระงานหรือรับโหลดได้สูงกว่าเกรด 80 ประมาณ 25% และทำงานที่อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิบรรยากาศได้ดี ซึ่งการทำงานที่อุณหภูมิต่ำยังเป็นข้อจำกัดของโซ่เกรด Gr80 การผลิตจะระบุเกรด 10, หรือ 100 เป็นโซ่ที่เหมาะสำหรับใช้กับงานเครน

สนใจสินค้าหรือสอบถามเพิ่มเติม คลิ๊กเลย!! >> HST STEEL Contact

 

2. ส่วนประกอบของชุดโซ่ยก โหลดชาร์ทและการตรวจสภาพ

คำอธิบายประกอบภาพ

มาสเตอร์ลิงค์ Master Link : ชุดโซ่ยกแบบขาเดียวดังภาพ ให้เลือกใช้มาสเตอร์ลิงค์เดี่ยว หากเป็นชุดโซ่ยกสองขา สามขาและสี่ขา ต้องใช้มาสเตอร์ลิงค์ 3 ห่วง หรือที่เรียกว่า มาสเตอร์ลิงค์แม่-ลูก (Master Link Assembly) โดยลิงค์แต่ละห่วง ติดตั้งโซ่ได้ไม่เกิน 2 เส้น อุปกรณ์เชื่อมต่อชิ้นล่างสุด : การเลือกอุปกรณ์ชิ้นล่างสุดของชุดยก ให้พิจารณาว่าจะใช้ชุดโซ่ยกไปใช้ยึดเกาะชิ้นงานอะไร แล้วให้เลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสม ตัวอย่างอุปกรณ์ที่เลือกใช้เช่น ตะขอยก (Hooks) สเก็นโอเมก้า (Bow Shackle) ลิฟท์ติ้งแคล้มป์ (Lifting Clamp) หรืออุปกรณ์ที่สร้างขึ้นตามความเหมาะสมใช้งาน เนื่องจากการผลิตอุปกรณ์แต่ละชิ้นจะผลิตที่ค่ารับโหลดไม่เท่ากัน เมื่อนำมาประกอบเป็นชุดยก ให้ใช้ค่ารับโหลดของอุปกรณ์ที่มีค่าน้อยที่สุดเป็นค่ารับโหลดของชุดโซ่ยก ค่ารับโหลดของชุดโซ่ยก หมายความว่าค่ารับโหลดสูงสุดของชุดยกเมื่อเทียบกับแนวดิ่ง, ตัวอย่างเช่น มาสเตอร์ลิงค์ WLL 3.5 ตัน, แฮมเมอร์ล็อค WLL 3 ตัน, โซ่ WLL 3 ตัน และตะขอยก WLL 3.5 ตัน, การใช้งานจะสามารถรับได้ที่ WLL 3 ตัน

สนใจสินค้า ชุดโซ่ยกของ คลิ๊กเลย!! >> ชุดโซ่ยกของ

 

3. โหลดชาร์ทและการตรวจสภาพ

การตรวจสภาพ (Lifting Chain Inspection)

ข้อโซ่สึก โก่ง แตกร้าว รอยกัดแหว่ง : twisted, bent, gouged, nicked, crack or any visible crack รอยแตกที่ส่วนต่อข้อโซ่ ยืดตัว เสียรูปยอมรับไม่เกินร้อยละ 10 เทียบขนาดเดิม เกิดสนิมรุนแรง มีรอยเชื่อม โดนเปลวไฟ

 

Reference :

Nelson Wire Rope, 2020. The Five Grades of Chain [online] Available at: <https://www.nelsonwirerope.com/chain> [Accessed 13 July 2020]

อ่านเพิ่มเติม