ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโซ่

13/07/2020 17:43:41

        โซ่ (Chain) สามารถใช้งานได้หลากหลาย เช่น ใช้ยึดเกาะทั่วไป งานยึดเกาะสินค้าบนรถบรรทุก ใช้ยกของในงานเครน ใช้ล้อมพื้นที่ หรือแม้แต่ใช้ประดับตกแต่ง ซึ่งโซ่จะมีอยู่หลากหลายเกรดด้วยกัน แต่ละเกรดจะเหมาะกับงานที่แตกต่างกันไป เพื่อให้เข้าใจเกี่ยวกับภาพรวมได้ครอบคลุมมากขึ้น ทาง เอชเอสที สตีล จะขออธิบายความเข้าใจทั่วไปเป็นลำดับแรก จากนั้นจะอธิบายเฉพาะชุดโซ่ยกที่ใช้ในงานเครนตามลำดับ

 

1. เกรดของโซ่

 

1.1 โซ่เกรด G30 : เป็นโซ่เกรดมาตรฐานสำหรับใช้งานทั่วไป ผลิตจากเหล็กคาร์บอนต่ำ ใช้กับงานลักษณะพ่วงต่ออุปกรณ์ ยึดอุปกรณ์ ยึดตรึงอุปกรณ์ (Tie Down) การผลิตจะระบุเกรด 3, 30 หรือ 300 ห้ามใช้กับงานเครน

สนใจสินค้า โซ่ G30 คลิ๊กเลย!! >> โซ่ G30

 

1.2 โซ่เกรด BBB Anchor Chain : เป็นโซ่เกรดมาตรฐาน ใช้กับงานผูกยึดเรือกับต้นเสา ผลิตจากเหล็กคาร์บอนต่ำ การผลิตจะระบุเกรด 3B ห้ามใช้กับงานเครน

สนใจสินค้า โซ่สมอ (Anchor Chain) คลิ๊กเลย!! >> โซ่สมอ

 

1.3 โซ่เกรด G40 High Test : คุณสมบัติเชิงกลการรับโหลดระดับเดียวกันกับโซ่เกรด Gr43 แต่ขนาดของข้อโซ่จะเล็กกว่า การผลิตจะอ้างอิงมาตรฐาน ISO เป้าหมายการผลิตใช้กับงานผูกยึดเรือกับต้นเสา หลังจากนั้นได้พัฒนาเปลี่ยนเป็นเกรด Gr43 แทน ห้ามใช้กับงานเครน

สนใจสินค้าหรือสอบถามเพิ่มเติม คลิ๊กเลย!! >> HST STEEL Contact

 

1.4 โซ่เกรด G70 Transport : โซ่เกรดนี้ใช้สำหรับยึดตรึงสินค้าบนรถบรรทุก (Tie Down or Load Restraint) สำหรับงานขนส่ง โซ่จะถูกชุบโครเมียมสีทองช่วยให้จดจำได้ง่าย การผลิตจะระบุเกรด 7, 70 หรือ 700 ห้ามใช้กับงานเครน

สนใจสินค้าหรือสอบถามเพิ่มเติม คลิ๊กเลย!! >> HST STEEL Contact

 

1.5 โซ่เกรด G80 Alloy : เป็นโซ่ที่ถูกออกแบบและรับรองโดย OSHA และอีกหลายองค์กร สำหรับใช้ยกของในงานเครน  โซ่เกรดนี้ผลิตโดยใช้กระบวนการทางความร้อน (Heat-Treated Steel) โดยปรับคุณสมบัติทางเคมีและคุณสมบัติเชิงกลให้เหมาะสำหรับงานยกของในงานเครน การผลิตจะระบุเกรด 8, 80 หรือ 800 เป็นโซ่ที่เหมาะสำหรับใช้กับงานเครน

สนใจสินค้า โซ่อัลลอย G80 คลิ๊กเลย!! >> โซ่อัลลอย G80

 

1.6 โซ่เกรด  G100 Alloy : ถือได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่สำหรับการผลิตโซ่ที่เป็นโลหะผสม ชิ้นงานที่ได้สามารถรับภาระงานหรือรับโหลดได้สูงกว่าเกรด 80 ประมาณ 25% และทำงานที่อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิบรรยากาศได้ดี ซึ่งการทำงานที่อุณหภูมิต่ำยังเป็นข้อจำกัดของโซ่เกรด Gr80 การผลิตจะระบุเกรด 10, หรือ 100 เป็นโซ่ที่เหมาะสำหรับใช้กับงานเครน

สนใจสินค้าหรือสอบถามเพิ่มเติม คลิ๊กเลย!! >> HST STEEL Contact

 

2. ส่วนประกอบของชุดโซ่ยก โหลดชาร์ทและการตรวจสภาพ

ส่วนประกอบชุดโซ่ยกของ

คำอธิบายประกอบภาพ

  • มาสเตอร์ลิงค์ Master Link : ชุดโซ่ยกแบบขาเดียวดังภาพ ให้เลือกใช้มาสเตอร์ลิงค์เดี่ยว หากเป็นชุดโซ่ยกสองขา สามขาและสี่ขา ต้องใช้มาสเตอร์ลิงค์ 3 ห่วง หรือที่เรียกว่า มาสเตอร์ลิงค์แม่-ลูก (Master Link Assembly) โดยลิงค์แต่ละห่วง ติดตั้งโซ่ได้ไม่เกิน 2 เส้น
  • อุปกรณ์เชื่อมต่อชิ้นล่างสุด : การเลือกอุปกรณ์ชิ้นล่างสุดของชุดยก ให้พิจารณาว่าจะใช้ชุดโซ่ยกไปใช้ยึดเกาะชิ้นงานอะไร แล้วให้เลือกอุปกรณ์ให้เหมาะสม ตัวอย่างอุปกรณ์ที่เลือกใช้เช่น ตะขอยก (Hooks) สเก็นโอเมก้า (Bow Shackle) ลิฟท์ติ้งแคล้มป์ (Lifting Clamp) หรืออุปกรณ์ที่สร้างขึ้นตามความเหมาะสมใช้งาน
  • เนื่องจากการผลิตอุปกรณ์แต่ละชิ้นจะผลิตที่ค่ารับโหลดไม่เท่ากัน เมื่อนำมาประกอบเป็นชุดยก ให้ใช้ค่ารับโหลดของอุปกรณ์ที่มีค่าน้อยที่สุดเป็นค่ารับโหลดของชุดโซ่ยก ค่ารับโหลดของชุดโซ่ยก หมายความว่าค่ารับโหลดสูงสุดของชุดยกเมื่อเทียบกับแนวดิ่ง, ตัวอย่างเช่น มาสเตอร์ลิงค์ WLL 3.5 ตัน, แฮมเมอร์ล็อค WLL 3 ตัน, โซ่ WLL 3 ตัน และตะขอยก WLL 3.5 ตัน, การใช้งานจะสามารถรับได้ที่ WLL 3 ตัน

สนใจสินค้า ชุดโซ่ยกของ คลิ๊กเลย!! >> ชุดโซ่ยกของ

 

3. โหลดชาร์ทและการตรวจสภาพ

การตรวจสภาพโซ่

การตรวจสภาพ (Lifting Chain Inspection)

  • ข้อโซ่สึก โก่ง แตกร้าว รอยกัดแหว่ง : twisted, bent, gouged, nicked, crack or any visible crack
  • รอยแตกที่ส่วนต่อข้อโซ่
  • ยืดตัว เสียรูปยอมรับไม่เกินร้อยละ 10 เทียบขนาดเดิม
  • เกิดสนิมรุนแรง
  • มีรอยเชื่อม โดนเปลวไฟ

 

Reference :

Nelson Wire Rope, 2020. The Five Grades of Chain [online] Available at: <https://www.nelsonwirerope.com/chain> [Accessed 13 July 2020]